หลักสูตร Design Thinking สำหรับพนักงานในองค์กร
ไม่ว่าลูกค้าของคุณจะเป็นใคร ก็สร้างสรรค์ Solution สุดล้ำได้
หลักสูตร Design Thinking ที่ออกแบบพิเศษเพื่อตอบทุกโจทย์ธุรกิจ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Design Thinking คืออะไร?
ทำไมกระบวนการคิดเชิงออกแบบถึงจำเป็นกับทุกองค์กร
กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) คือกระบวนการแก้ไขปัญหา (Problem Solving) แนวใหม่ ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่ยาก ๆ ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน และต้องการความคิดสร้างสรรค์เพื่อตอบปัญหาให้ได้ดีที่สุด กระบวนการนี้ถูกพูดถึงและนำไปใช้ในวงกว้างด้วยหลาย ๆ ปัจจัย เช่น พฤติกรรมลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตลอดเวลา องค์กรไม่สามารถใช้วิธีการทำวิจัยแบบเดิม เพื่อเข้าใจลูกค้า หรือ กระบวนการทดสอบตลาด ทดสอบไอเดียกับลูกค้าใช้เวลานานเกินไป ทำให้แนวคิดอย่างกระบวนการคิดเชิงออกแบบถูกสร้างมาเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้น โดยชุดทักษะและวิธีคิด (Mindset) ที่โดดเด่นในกระบวนการนี้ได้แก่
Customer or Human-centered Design
หรือกระบวนการคิดที่ให้ลูกค้า หรือมนุษย์เป็นศูนย์กลาง เป็นจุดเริ่มต้นในการออกแบบ ไม่ได้เริ่มที่วิธีการแก้ไขปัญหา (Solution)
Creativity
หรือความคิดสร้างสรรค์ ที่สามารถนำบริบทที่องค์กรเจอ ข้อจำกัดที่มี มาเป็นขุมพลังในการทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ของลูกค้าได้
Prototyping Mindset
หรือแนวคิดการแก้ไขปัญหาแบบรีบทดสอบกับผู้ใช้งาน รีบเรียนรู้ รีบปรับปรุง เพื่อทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมที่เร็วขึ้น
ขั้นตอนของกระบวนการคิดเชิงออกแบบ
(Stage in the design thinking process)
BASE Playhouse นำโมเดลด้านการคิดเชิงออกแบบทุกโมเดลมาทำการวิเคราะห์และใช้กระบวนการคิด (Thinking Process) เป็นแก่นในการสอน ผ่านขั้นตอนหลักๆ คือ
1. Problem Finding การหาปัญหาที่ใช่
- Empathizing การทำความเข้าใจผู้ใช้ ผ่านการคิดแบบ Critical Thinking และทักษะการสัมภาษณ์
- Problem Defining การวิเคราะห์ปัญหา เรียงลำดับความสำคัญของปัญหา และตั้งโจทย์ที่ดีสำหรับการแก้ไขปัญหา
2. Creative Solution การคิดไอเดีย หาวิธีแก้ไขปัญหาที่สร้างสรรค์
- Ideations การคิดไอเดียที่สร้างสรรค์ ผ่านการฝึกเทคนิคความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลาย การฝึกการ Reframe การลองฝึกเทคนิคการระดมสมองที่ถูกต้อง (Brainstorming technique)
- Prototyping & Testing Idea การสร้างต้นแบบทางความคิด ไปทำกับทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเก็บ Feedback และนำมาปรับปรุงให้ตอบโจทย์และลดความเสี่ยงในทุกด้านของผู้ใช้
ซึ่งโมเดลที่ BASE ใช้สอนจะใช้โมเดล Double Diamond ที่สามารถอธิบายแนวคิดที่เชื่อมโยงกับ Thinking Process ได้ง่ายกว่า แต่สามารถปรับเป็นโมเดลของ d.School (Hasso Plattner Institute of Design) ได้ หากทางทีม HR หรือองค์กรนั้นต้องการ
หลักสูตร Design Thinking ของ BASE
แตกต่างจากที่อื่นอย่างไร?
เริ่มต้นที่ Thinking
ไม่เริ่มต้นที่กระบวนการ หากเข้าใจกระบวนการคิดเชิงออกแบบจริง ๆ จะเข้าใจว่าในนั้นประกอบกันด้วยหลายชุด Knowledge, Skills และ Mindset โดยเรียงร้อยกันเพื่อให้สามารถสร้างนวัตกรรมขึ้นมาได้ การสอนที่ให้ผู้เรียนกระโดดไปทำ Process เลยและไม่ได้ถอดบทเรียนว่าแต่ละจุดเกิดจาก Thinking หรือกระบวนการคิดแบบไหน จะทำให้ผู้เรียนไม่สามารถนำไปใช้งานจริงได้ เมื่อจบจากห้องเรียน
Gamified Design Thinking
การเรียนรู้กระบวนการคิดเชิงออกแบบผ่านเกม ที่ผู้เรียนจะได้รับบทบาทหลาย ๆ แบบเพื่อแข่งขันกันสร้างนวัตกรรมให้กับคนจริง ๆ โดย Feedback จริงๆ เพื่อทำให้เกิดความสนุกและเปลี่ยนแปลงวิธีคิด
ที่ท้าทายตลอดระยะเวลาการเรียนรู้
Link to Innovation
เชื่อมโยงกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ไปสู่การสร้างนวัตกรรมที่มีองค์ประกอบอื่นๆ เช่น การคิดโมเดลธุรกิจ (Business Model) การคิดความเป็นไปได้ในมุมต่างๆ เช่น Technical Feasibility และ Financial Feasibility
Customized Learning Outcome
การปรับหลักสูตรให้ตอบโจทย์ผู้เรียน HR หรือองค์กรได้ เช่น หากองค์กรต้องการแค่ฝึกทักษะ หรือเปิด Mindset การสอนจะเป็นการเติมพื้นฐานผ่านการนำเคสจำลองมาใช้งาน แต่หากบางองค์กรต้องการได้นวัตกรรมไปใช้งานต่อจริง ๆ หรือจบหลักสูตร ก็สามารถนำโจทย์ที่กำลังเป็นที่สนใจในองค์กร ปัญหาที่เจอทั้งด้าน Internal Process หรือ External Process มาใช้ในหลักสูตรทุกหลักสูตรที่ BASE Playhouse ออกแบบและจัดให้กับแต่ละองค์กรไม่เคยเหมือนกัน เพราะเรารู้ว่าโจทย์และบริบทของแต่ละองค์กรไม่เหมือนกัน ต้องมีการปรับให้เข้ากับองค์กรเหล่านั้น
Learning Outcome
หรือสิ่งที่ผู้เรียนจะได้จากหลักสูตร Design Thinking
สมรรถนะ (Competency) ที่ผู้เรียนจะได้จากหลักสูตรนี้
ความรู้ (Knowledge)
- เข้าใจหลักการและแนวคิดของ Design Thinking เช่น Empathy, User-centered design และ Iteration Process
- ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบ Design Thinking และขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การ เข้าใจผู้ใช้งานแบบ “เข้าถึงใจ” (Empathy) การตั้งโจทย์ปัญหา (Define Problem Statement) การคิดสร้างสรรค์(Ideation) การสร้างต้นแบบ(Prototyping) และการทดสอบ (Test)
- ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการคิดเชิงออกแบบ เช่น Journey mapping Persona development, และ เทคนิคการระดับสมอง (Brainstorming Technique) ในรูปแบบต่างๆ
ทักษะ (Skills)
- Empathy: ความสามารถในการทำความเข้าใจความคิด ความรู้สึก และความต้องการของผู้ใช้ จุดบอด และปัญหาที่พวกเขามีอยู่
- Creativity: ความสามารถในการสร้างแนวคิดและวิธีแก้ปัญหาที่หลากหลาย ใหม่ และตอบโจทย์
- Prototyping: ความสามารถในการสร้างต้นแบบทางความคิด ผ่านเครื่องมือต่างๆ เพื่อทดสอบและทำซ้ำให้ดีขึ้นกว่าเดิม (Iteration)
- Collaboration: ความสามารถในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในทีม และใช้ประโยชน์จากมุมมองและชุดทักษะที่หลากหลายของสมาชิกในทีม
- Iteration: ความสามารถในการทำซ้ำและปรับแต่งแนวคิดตามคำติชม (Feedback)
ชุดวิธีคิด (Mindsets)
- User-centered: เน้นความเข้าใจและออกแบบตามความต้องการของผู้ใช้
- Curious: ความกล้าที่จะถามคำถาม สำรวจแนวคิดใหม่ และท้าทายสมมติฐานเดิม ๆ
- Open-minded: ความเต็มใจที่จะยอมรับความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน และพิจารณามุมมองที่หลากหลายจากโจทย์ใหม่ ๆ กับความเห็นที่แตกต่างของเพื่อนในทีม
- Bias towards action: การลดอคติต่อการลองทำสิ่งใหม่ ๆ ผ่านการลงสร้างต้นแบบ และการเรียนรู้ด้วยการกระทำ
- Resilient: ความสามารถในการยอมรับความล้มเหลวเป็นโอกาสในการเรียนรู้ และยืนหยัดในการเผชิญกับความพ่ายแพ้
รูปแบบการเรียนรู้ที่สามารถจัดหลักสูตร
‘Design Thinking’ ได้
โดยปกติทางทีม Learning Designer ของ BASE Playhouse
จะออกแบบหลักสูตรกระบวนการคิดเชิงออกแบบตามความต้องการด้านสมรรถนะ (Competency) เป้าหมายของแต่ละองค์กร โดยแบ่งง่าย ๆ ดังนี้
1. หลักสูตรสำหรับเติมทักษะและวิธีคิดพื้นฐาน
- หลักสูตร 1-2 วัน ตามความเข้มข้นและโจทย์ที่ทางองค์กรต้องการ
2. หลักสูตรสำหรับนำทักษะไปใช้จริง
- หลักสูตร 2-3 วัน ตามความเข้มข้นและโจทย์ที่ทางองค์กรต้องการ โดยการจัดหลักสูตร จะต้องมี Session ที่ทำงานร่วมกับ HR หรือหัวหน้าแผนกเพื่อคุยกันถึงเป้าหมายของการนำทักษะไปใช้งานจริง
3. หลักสูตรเพื่อทำให้นวัตกรรมเกิดขึ้นได้จริง
- Innovation Hackathon อีเวนต์ที่นำคนจากหลากหลายแผนก ทั้งในและนอกองค์กร มาเติมทักษะและใช้กลไกของแฮกกาธอน ในการคิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ในระยะเวลาที่จำกัด โดยมีเป้าหมายเพื่อได้ไอเดียไปต่อยอดในแผนกต่างๆ
- Innovation Bootcamp โปรแกรมระยะยาวที่ดึง Innovation Talent ของแต่ละแผนกมารวมตัวกันเพื่อแก้โจทย์ปัญหาที่องค์กรตั้ง หรือหาโอกาสใหม่ ๆ ใน New S-curve ผ่านกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่เฉพาะของแต่ละองค์กร เช่น การสร้างทีมผู้บริหารมาเป็น Mentor ของผู้เข้าโปรแกรม
4.หลักสูตรสำหรับผู้บริหารที่ต้องการสร้างวัฒนธรรมความคิดสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรม (Innovation Culture) ในองค์กร
- หลักสูตร 2-4 วัน ตามความเข้มข้นและโจทย์ที่ทางองค์กรต้องการ โดยผู้บริหารต้องลองสร้างนวัตกรรมขึ้นมาด้วยตัวเอง และถอดบทเรียนและออกแบบวิธีการนำนวัตกรรมไปสร้างในทีมและองค์กร ผ่านการออกแบบวิธีการทำงานแบบใหม่ (New way of working) ให้เกิดการนำนวัตกรรมไปใช้ได้จริง
กระบวนการทำงานร่วมกับทีม HR ของแต่ละองค์กร
Define Learning Outcomes
ระบุเป้าหมายทางการเรียนรู้และทางธุรกิจที่บริษัทต้องการบรรลุผ่านหลักสูตร Design Thinking ผลลัพธ์เหล่านี้ควรสอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของบริษัท
Conduct a Training Needs Analysis
กำหนดช่องว่างทักษะและความรู้ (Skills and knowledge gaps) ที่จำเป็น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ที่จะนำไประบุหัวข้อและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมในหลักสูตรการคิดเชิงออกแบบ
Customize the Curriculum
ออกแบบและปรับแต่งหลักสูตร Design Thinking ให้ตรงกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้และผลลัพธ์ทางธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง โดยจะนำกรณีศึกษาจริงของธุรกิจมาใช้งานในหลักสูตร ผ่านการออกแบบโมดูลเฉพาะ กิจกรรม และการประเมินที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
Create Workshop or Bootcamp Session
จัดเวิร์กช็อปหรือ Bootcamp ที่สอดคล้องกับหลักสูตรที่กำหนด
Evaluate and Measure
หาวิธีประเมินและวัดผลเวิร์กช็อปที่สามารถใช้เพื่อตัดสินใจอย่างรอบรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงหลักสูตร
และเวิร์กช็อป
Agenda หลักสูตร Design Thinking พื้นฐาน
ตัวอย่าง Session หรือกระบวนการเรียนรู้ ที่หลักสูตรสามารถปรับได้ให้เหมาะสมแต่ละองค์กร ตามเป้าหมาย ระยะเวลา และ Budget ของแต่ละองค์กร
Business Introduction: Innovation & Disruptive Trends
ผู้เรียนจะได้รับการแนะนำให้รู้จักกับแนวคิดของนวัตกรรมและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจ พวกเขาจะสำรวจผลกระทบของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค และรูปแบบธุรกิจใหม่ในอุตสาหกรรมที่อยู่ และเรียนรู้ว่าธุรกิจสามารถก้าวนำหน้าได้อย่างไร
Customer Centric Design Simulation: Imaginary Game
ผู้เรียนจะได้มีส่วนร่วมในเกม “Imaginary Game” ที่จำลองกระบวนการออกแบบที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง พวกเขาจะได้เรียนรู้วิธีระบุและวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า สร้างตัวตนของผู้ใช้ และพัฒนาโซลูชันที่ตอบสนองความต้องการเหล่านั้น
Design Thinking & Service Design Process
ผู้เรียนจะได้รับการแนะนำให้รู้จักกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบและการออกแบบบริการ พวกเขาจะได้เรียนรู้วิธีการ Empathy เพื่อทำความเข้าใจผู้ใช้ การตั้งโจทย์ปัญหาที่ดี การคิดไอเดียใหม่ ๆ และการสร้างต้นแบบความคิดและนำไปทดสอบและทำซ้ำเพื่อสร้างบริการที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับผู้ใช้
New Experience & New Solution: Design Thinking Workshop (Group Project & On-the-job Learning)
ผู้เรียนจะได้ทำงานเป็นกลุ่มและใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อสร้างโซลูชันใหม่ตามโจทย์ที่องค์กรกำหนด สำหรับความท้าทายทางธุรกิจในโลกแห่งความเป็นจริง พวกเขาจะได้รับประสบการณ์จริงในกระบวนการคิดเชิงออกแบบ รวมถึงการกำหนดปัญหา ความคิด การสร้างต้นแบบ และการทดสอบ นอกจากนี้พวกเขาจะมีโอกาสนำการเรียนรู้ไปใช้ในงานและนำแนวคิดและแนวทางใหม่ ๆ มาใช้ในการทำงาน
Prototype Pitching
ผู้เรียนจะนำเสนอโครงการที่ปรับปรุงแล้วทั้งหมดให้กับเพื่อนร่วมชั้นเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ที่ได้รับตลอดโครงการ
Speaker
Maytwin Pitipornvivat
CEO & Co-Founder of BASE Playhouse
/ Behavioral and Gamification Designer
ผู้สอนและออกแบบกระบวนการที่มีประสบการณ์ในวงการ Training และ Coaching มากว่า 10 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวางกลยุทธ์องค์กร (Strategy Integration)
และมีประสบการณ์หลายปีในการเป็น Change Leader ในบริษัทข้ามชาติ (International Corporate)
Peesadech Pechnoi
Co-Founder of BASE Playhouse
/ Learning Designer & Technologist
ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างออกแบบการเรียนรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ที่อยู่ในวงการการสร้างนวัตกรรม และเทคโนโลยีในบริษัทใหญ่ๆ มาเกือบ 8 ปี ที่หลงใหลในการการจัดการความรู้ และการค้นหาเทคโนโลยีมาช่วยให้การฝึกความสามารถดีขึ้น
บรรยากาศภายในคอร์ส
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
หรือติดต่อ คุณณัฐพล (แชมป์) โดยตรงที่ (+66)62-497-4497 เพื่อความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
BASE Playhouse
719 อาคารมิ้นท์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 4 ถ. พระราม 6 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
เปิดทุกวัน 24 ชั่วโมง