Highlights
- บทสัมภาษณ์เบื้องหลังจากผู้จัดโครงการ และความรู้สึกของผู้เข้าแข่งขันโครงการ ‘PTT Vacancies Venture Talent Hackathon 2022’
- “…เด็กแต่ละคนในยุคนี้มีไอเดียที่อยู่ในหัว และก็มีประสบการณ์ที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อนมาก ๆ จะเป็นเรื่องดีมาก ๆ ที่จะมีโครงการแบบนี้ขึ้น เพื่อให้คนรุ่นใหม่สามารถคิดไอเดียออกมาและพัฒนา และสร้างประโชยน์ให้กับตัวเองและประเทศชาติได้ค่ะ…” – พชร กังสดาลพิภพ จาก ‘Gracefully (GFL)’ ทีมผู้ชนะเลิศอันดับ 1
เมื่อวันที่ 21-24 พฤศจิกายน ปี 2565 ที่ผ่านมา BASE Playhouse ได้มีโอกาสจัดโครงการ Hackathon ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การแข่งขันเฟ้นหาผู้มีความสามารถ สร้างสรรค์ไอเดียจาก 2 โจทย์ธุรกิจใหม่จาก ปตท. ในชื่อโครงการว่า ‘PTT Vacancies Venture Talent Hackathon 2022 : ทะยานสู่โลกใหม่ที่ดีกว่า ด้วยพลังแห่งอนาคต’ การแข่งขันเฟ้นหาคนรุ่นใหม่ที่สามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงคนต่อไป จากการรับสมัครผู้มีความสามารถและมีใจรักในด้าน Business-Technology, Digital Solution และ AI & Robotics ทั่วสารทิศ มาร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรมสุดล้ำ ผ่านโจทย์ธุรกิจใหม่จากปตท. ผ่านกระบวนการ Hackathon 4 วัน 3 คืน ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 100,000 บาท
จุดเริ่มต้นของ ‘PTT Vacancies Venture Talent Hackathon 2022’
โครงการ ‘PTT Vacancies Venture Talent Hackathon 2022 : ทะยานสู่โลกใหม่ที่ดีกว่า ด้วยพลังแห่งอนาคต’ เกิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ของปตท. ที่ต้องการสร้าง Talent จากกลุ่มคนรุ่นใหม่ ให้พร้อมเป็นพร้อมเป็นพลังขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจไทยในอนาคต ให้เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยนวัตกรรม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจใหม่ หรือ New S-Curve ของปตท. ที่มีเป้าหมายในการพัฒนานวัตกรรมด้าน ‘Ai & Robotics’
‘New Energy’ & ‘Life Science’ นวัตกรรมที่จะพลิกโฉมภาคเศรษฐกิจไทยในอนาคต
การเดินทางสู่ New S-Curve ของปตท. มีหลากหลายด้าน แต่ส่วนที่ถูกนำมาเป็นโจทย์ในการพัฒนา Talent ในครั้งนี้คือ ‘New Energy’ การพัฒนา Solution ด้านพลังงาน ให้ตอบรับความต้องการที่มากขึ้นในอนาคต แต่จะต้องก่อให้เกิดความยั่งยืน เป็นพลังงานสะอาดที่ก่อมลพิษให้น้อยที่สุด และ ‘Life Science’ การสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น ทั้งการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ยารักษาโรค หรือแม้แต่การสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุในอนาคต
ด้วยเหตุผลนี้ วิสัยทัศน์จากปตท. จึงถูกนำมาเป็นโจทย์การแข่งขัน ที่ผู้เข้าร่วมสามารถเลือกเป็น Track ที่สนใจได้เอง ผ่านการเปิดรับสมัครผู้มีความสามารถจากทั่วประเทศ ด้วยกระบวนการคัดเลือกและแบบทดสอบวัดความสามารถอย่างเข้มข้น ก้าวเข้าสู่โปรแกรมการพัฒนาให้เป็น Talent ที่พร้อมขับเคลื่อนและสร้างความมั่นคงให้กับภาคเศรษฐกิจไทยต่อไป
กระบวนการที่เฟ้นหาจนได้ผู้เข้าแข่งขัน 60 คน จากทั่วประเทศ
ด้วยโจทย์ที่ Talent ทุกคนจะต้องพัฒนา Solution สุดล้ำแห่งอนาคต การเฟ้นหาจึงต้องคัดเลือกเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้มาซึ่ง 60 คน ที่มีความรู้ความสามารถ ทั้งยังต้องมี Personality และ Culture ที่เข้ากันกับปตท.
ก่อนการคัดเลือก 60 ผู้เข้าแข่งขันตัวจริง ผู้สมัครทุกคนจะได้รับการ Screen test อย่างเข้มข้นด้วยระบบ SEEN ที่วัดทั้งความสามารถและตัวตน ไปจนถึงการวัดผลความเข้ากันกับ ‘SPIRIT’ ค่านิยมองค์กรของปตท. ที่ประกอบไปด้วย Synergy: สร้างพลังร่วมอันยิ่งใหญ่, Performance Excellence: มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, Innovation: สร้างนวัตกรรม, Responsibility for Society: รับผิดชอบต่อสังคม, Integrity and Ethics: สร้างพลังความดี และ Trust and Respect: เชื่อมั่นและเคารพกันและกัน จากนั้น ผู้สมัครที่ได้ผ่านการคัดเลือก จะถูกจัดกลุ่มด้วย Character พร้อมสู่การ Matching Team ก่อนทำกิจกรรมร่วมกันตลอด 4 วัน 3 คืน
“เนื่องจาก Hackathon ครั้งนี้ มี Theme ที่เป็นด้าน Technology / Ai & Robotics เรามีกระบวนการคัดเลือกที่เข้มข้นมาก เพราะเรามองว่าสิ่งนี้ เป็น Key success factor ในการทำให้ Innovation Project เกิดขึ้นได้จริง และเป็น Challenge ที่ทุก Hackathon มี จึงเป็นสิ่งที่เรายกระดับการคัดเลือก กับกระบวนการ Matching Team ด้วยระบบ SEEN” – เมธวิน ปิติพรวิวัฒน์ CEO & co-founder of BASE Playhouse
“…ตอนแรกคิดว่าจะไม่ work แต่ด้วยระบบจัดกลุ่ม และลักษณะของแต่ละคนในทีม ก็ทำให้เราทำงานได้อย่างราบรื่น ไม่มีกระทบกระทั่งกันเลย ถือว่าเป็นเรื่องแปลก แต่เป็นเรื่องที่ดีค่ะ…” – พชร กังสดาลพิภพ จาก ‘Gracefully (GFL)’ ทีมผู้ชนะเลิศอันดับ 1
ถึงเวลารวมพลังสร้างสรรค์ไอเดีย กับ Hackathon สุดท้าทาย
เปิดฉากวันแรกของโครงการ ‘PTT Vacancies Venture Talent Hackathon 2022’ ณ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) จังหวัดกรุงเทพมหานคร กับครั้งแรก ที่ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 60 คน จะได้มาพบกัน โดยได้รับการต้อนรับจาก ‘คุณเบญญาภรณ์ จารุจินดา’ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการโครงการบูสเตอร์ ได้กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนอย่างอบอุ่น และตามมาด้วย Inspiration Talk จาก ‘ดร.ชาญวิทย์ บุญช่วย’ CEO and co-founder จาก SYNAPES Thailand, ‘คุณภาคภูมิ เกรียงโกมล’ Robotics Team Lead จาก AI and Robotics Ventures (ARV) และ ‘คุณภาดารี อุตสาหจิต’ CEO and Co-Founder จาก Lightwork AI ที่ได้มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมทุกคน และก่อนที่จะได้เริ่มเข้าสู่สมรภูมิการ Hackathon ทั้ง 3 วัน ผู้เข้าแข่งขันทุกคนก็จะได้รับการพัฒนาทักษะ ทั้งการการสร้างนวัตกรรม และการสร้างคุณค่าให้เป็นธุรกิจที่ทำเงินได้จริง
“ความท้าทายหลัก เป็นระยะเวลาที่จัด Hackathon เพราะปกติระยะเวลาระหว่างช่วงของการคิดแต่ละ Stage จะห่างเป็นหลักเดือนหรือหลายเดือนเลยค่ะ อันนี้ถือเป็น Challenge ใหม่ ๆ ว่าเราจะคั้นมันออกมายังไงให้มีประสิทธิภาพที่สุด ภายใน 4 วันกับคนที่เพิ่งเจอกัน คิดว่าเป็นเรื่องที่สนุกและตื่นเต้นมาก ๆ เลยค่ะ” – พชร กังสดาลพิภพ จาก ‘Gracefully (GFL)’ ทีมผู้ชนะเลิศอันดับ 1
เข้าสู่วันที่สองของโครงการ และเริ่มการ Hack โจทย์สุดท้าทาย โดยในโครงการนี้มีรูปแบบการ Hackathon ที่ไม่เหมือนที่ไหน เพราะผู้เข้าแข่งขันจะได้สัมผัสประสบการณ์แบบเกม ที่เรียกว่า ‘Gamified Hackathon’ ให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้สวมบทเป็น ‘ผู้เล่น’ ที่พร้อมพลิกแพลงกลยุทธ์เพื่อชัยชนะ และเห็นผลคะแนนที่เป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินกันอย่าง Realtime ภายใต้การระดมสมองในระยะเวลาจำกัด เสริมด้วยการให้คำปรึกษาจากผู้มีประสบการณ์ด้านธุรกิจและนวัตกรรมตัวจริง ‘คุณณัฐ สุริยะบรรเทิง’ ผู้จัดการ, ‘คุณชาคร เลิศอรรฆยมณี’ พนักงานวิเคราะห์และวางแผนอาวุโส และวิทยากรจาก BASE Playhouse ร่วมให้ความรู้และแนวทางการปฏิบัติงานให้กับผู้เข้าแข่งขันทั้ง 11 ทีม ที่ไม่รู้จักกันมาก่อน ได้ทำงานร่วมกันจนได้แผนธุรกิจนวัตกรรมที่สามารถสร้างคุณค่าให้กับคนไทยได้จริง
“…เพื่อนๆทุกคนเก่งกันมากเลย และทุกคนก็รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดกัน ต่างคนต่างเสริมกันให้ผลิตภัณฑ์ของเราพัฒนาต่อจนนำเสนอต่อหน้าคณะกรรมการได้ค่ะ” – ชนกนันท์ เกียรติปิติ จาก ‘Crisper Lungy’ ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1
“…เราเชื่อว่า ถ้ามีโครงการดี ๆ แบบนี้ต่อไป จะทำให้เด็กและเยาวชนในวัยของพวกผม ได้ออกมาแสดงความคิด แสดงจุดยืนของตัวเอง เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ให้ดียิ่งขึ้นครับ” – ธีระภัทร อินทร์ตา จาก ‘PTT Move Forward’ ทีมรองชนะเลิศอันดับ 2
การพิชิตโจทย์ใน Hackathon ผ่านไปอย่างเข้มข้น จนถึงเวลาที่ทุกคนรอคอย นั่นคือการ ‘Final Pitching’ หรือการนำเสนอผลงานทั้งหมดต่อหน้ากรรมการจาก ปตท. ‘คุณชาญ กุลภัทรนิรันตร์’ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจใหม่, ‘คุณเบญญาภรณ์ จารุจินดา’ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการโครงการบูสเตอร์, ‘คุณวรกันต์ บูรพาธนะ’ Head of Technology & Innovation, Innobic (Asia) Co. Ltd., ‘คุณณัฐชาต เจิดนภาพันธ์’ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รี แอค จำกัด, ‘ดร.นิพัทธ์ รัศมีโกเมน’ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท พีทีที เรส จำกัด และ ‘คุณเปรมปรีดี กิติรัตน์ตระการ’ ผู้จัดการ โครงการ ExpresSo ที่ได้มาร่วมให้คำตัดสินและข้อแนะนำกับทั้ง 11 ทีมนำไปปรับใช้ในอนาคต
โดยผลการตัดสินทีมผู้ชนะที่สามารถคิดค้นนวัตกรรมแห่งอนาคตได้ดีที่สุด ได้แก่
ทีมผู้ชนะเลิศอันดับที่ 1 ทีม Gracefully (GFL) เงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
‘A-Gracefully’ Platform บริการครบวงจรสำหรับผู้สูงอายุ ให้ใช้ชีวิตได้อย่างเต็มภาคภูมิ
ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม Crisper Lungy เงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
เทคโนโลยี AI-CRISPR Based ตรวจจับโรคปอดอักเสบติดเชื้อในผู้สูงอายุ
และทีมรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
ทีม PTT Move Forward
‘Nex Bike’ Platform บริการรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
ที่สามารถเชื่อมต่อกับขนส่งระบบรางได้แบบ One go
“…ผลงานของแต่ละทีมน่าประทับใจมาก ๆ เราเห็นทั้งไอเดียที่เริ่มตั้งแต่ศูนย์เลย จนออกมาเป็น Innovation ที่ตอบโจทย์ User และสร้าง Impact ได้จริง ๆ เกินครึ่งของผลงานที่ออกมาเป็นไอเดียที่ Breaktrough มาก ๆ ด้วยเช่นกัน…” – เมธวิน ปิติพรวิวัฒน์ CEO & co-founder of BASE Playhouse
ปตท. และ BASE Playhouse ขอแสดงความยินดีกับเหล่าพลังแห่งอนาคตทุกคน ที่สามารถพิชิตโจทย์การ Hackathon สุดท้าทายจนได้ Solution ที่จะกลายเป็นนวัตกรรมยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนในอนาคต